วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

1.1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

อันตรายจากสารเคมี

                การทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีโดยมีผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานนอกจากนั้น  อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการรวมทั้งก่อปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ

                สารเคมีสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้  หากผู้ปฏิบัติงานได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอาจเกิดอันตรายได้โดยทันที  เช่น  มีอาการปวดศีรษะ  คลื่นใส้  อาเจียน  หายใจลำบาก  ผิวหนังไหม้  เป็นต้น  และเมื่อร่างกายได้รับสารเคมีสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน  ทำให้เกิดอาการแบบเรื้อรัง  เช่น  ระบบประสาทถูกทำลาย ปอดถูกทำลาย เป็นมะเร็ง  เป็นต้น

การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

1.       ใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยกว่าแทน  เช่น  ใช้สารที่ระเหยได้ช้าว่า  ลดความเข้มข้นของสารใช้สารอื่น                  แทน  ใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปครีมแทนฝุ่น  เป็นต้น
2.       เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่  เช่น  ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้งใช้วิธีการทำงานที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้อง              สัมผัสสารเคมีโดยตรง
3.       แยกกระบวนการผลิตที่อันตรายออกห่างจากผู้ปฏิบัติงาน
4.       ควบคุมไม่ให้สารเคมีฟุ้งกระจายโดยจัดทำเป็นระบบปิด
5.       บำรุงรักษาเครื่องจักร  เครื่องมือไม่ให้ชำรุด เพื่อป้องกันการเคมีรั่วไหลหรือฟุ้งกระจายออกมา
6.       จักทำระบบระบายอากาศเฉพาะที่
7.       ใช้เครื่องจักรแทนคนทำงาน เช่น ใช้หุ่นยนต์ในงานเชื่อม  และงานพ่นสี เป็นต้น



การจำแนกประเภทสารเคมี (Method of Classification)  
การจำแนกประเภทสารเคมีจะพิจารณาจากลักษณะอันตรายเป็นหลัก ซึ่งอันตรายที่กำหนดตามระบบ GHS จะมี 3 ประเภท คือ 

            1. อันตรายด้านกายภาพ (Physical Hazard)  มี 16 ชนิด ดังนี้
                    1.1  วัตถุระเบิด (Explosives)
                    1.2  ก๊าซไวไฟ (Flammable gases)
                    1.3  ละอองลอยไวไฟ (Flammable aerosols)
                    1.4  ก๊าซออกซิไดส์ (Oxidizing gases)
                    1.5  ก๊าซภายใต้ความดัน (Gases under pressure)
                    1.6  ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids)
                    1.7  ของแข็งไวไฟ (Flammable solids)
                    1.8  สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-reactive substances and mixtures)
                    1.9  ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric liquids)
                    1.10 ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric solids) 
                    1.11 สารที่เกิดความร้อนได้เอง (Self-heating substances and mixtures)
                    1.12 สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ (Substances and mixtures which, in contact with water, emit flammable gases)
                    1.13 ของเหลวออกซิไดส์ (Oxidizing liquids)
                    1.14 ของแข็งออกซิไดส์ (Oxidizing solids)
                    1.15 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides)
                    1.16 สารกัดกร่อนโลหะ (Corrosive to metals)
            2. อันตรายด้านสุขภาพ (Health Hazard) มี 10 ชนิด ดังนี้
                    2.1  ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity)
                    2.2  การกัดกร่อนและการระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin corrosion/irritation)
                    2.3  การทำลายดวงตาอย่างรุนแรงและการระคายเคืองต่อดวงตา (Serious eye damage/eye irritation)
                    2.4  การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง (Respiratory or skin sensitization)
                    2.5  การก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ (Germ cell mutagenicity) 
                    2.6  การก่อมะเร็ง (Carcinogenicity) 
                    2.7  ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxicity)
                    2.8  ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการรับสัมผัสครั้งเดียว (Specific target organ toxicity - Single exposure)
                    2.9  ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการรับสัมผัสซ้ำ (Specific target organ toxicity - Repeated exposure)
                    2.10  ความเป็นอันตรายจากการสำลัก (Aspiration hazard)
            3. อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Environment Hazard) มี 1 ชนิด คือ
                    3.1  อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง (Hazardous to the aquatic environment)


อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล 

1. เสื้อกาวน์ (Laboratory Coat) 
• เนื้อผ้าทำจากใยฝ้าย / ใยสังเคราะห์ที่ไม่ติดไฟง่าย 
• ใช้สวมทับชุดปกติระหว่างปฏิบัติงาน   • ใช้ป้องกันการกระเด็นเปื้อนของสารเคมี
• ติดกระดุมเสื้อกาวน์ให้ครบเรียบร้อย    • ไม่ใส่เสื้อกาวน์ที่หลวมหรือรัดแน่นเกินไป 
• ไม่ใส่เสื้อกาวน์ที่มีรอยฉีกขาด             • ควรซักทำความสะอาดเสื้อกาวน์สม่ำเสมอ
• ถอดเสื้อกาวน์ออกทุกครั้งที่ออกจากห้องปฏิบัติการ 
2. ผ้ากันเปื้อนสารเคมี (Protective Coat) 
• เนื้อผ้าทำจากหนัง/PVC ที่ทนต่อสารเคมี 
• ใช้สวมทับเสื้อกาวน์อีกที                      • ใช้ป้องกันการกระเด็นเปื้อนของสารเคมี 
• ใช้ในการทำความสะอาดสารเคมีที่หก 
3. ถุงมือ (Gloves)                                  
• เลือกวัสดุของถุงมือ (vinyl, latex, nitrile) ให้เหมาะกับงาน 
•ถุงมือกันกรด-ด่าง สารพิษ •ถุงมือจับของร้อน/เย็น 
•ถุงมือจับของมีคม                                •ถุงมือสำหรับงานซักล้าง 
• ตรวจสภาพก่อนใช้ทุกครั้ง                  • ก่อนถอดถุงมือออกควรล้างมือก่อน 
• ถอดถุงมือก่อนออกจากห้องปฏิบัติการเสมอ 
• ขณะใส่ถุงมือไม่ควรจับ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ปากกา เป็น ต้น 
4. อุปกรณ์ป้องกันตา 
• แว่นตานิรภัย (Safety glasses) มีเลนส์ที่ทนการกระแทก 
• แว่นตากันไอระเหย (Goggle) 
5. หน้ากากคลุมหน้า (Face Shield) 
• ใช้ป้องกันดวงตา และใบหน้า 
6. หน้ากากป้องกันฝุ่น และไอระเหย (Respiratory mask) 
• ใช้ป้องกันฝุ่น และไอระเหยที่อันตรายต่อทางเดินหายใจ 
• หน้ากากควรกระชับพอดีกับใบหน้า • ต้องเลือกชนิดตัวกรองให้เหมาะสม 
• เปลี่ยนตวักรองตามอายุการใช้งาน • ควรท าความสะอาดอย่างเหมาะสมตามกำหนดเวลา 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น